สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมก็เช่นเดิมครับต้องเคลียร์อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ มีข้อมูลมากมายที่เป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเอง และผู้อื่น จึงต้องรีบสแกนไว้จำนวนมาก กำลังทำเป็นคลังข้อมูลส่วนตัวที่ตัวผมเองสนใจ สิบกว่าปีมานี้ ผมตัดเก็บข่าวไว้มากมายกว่า 10 แฟ้ม ก็จะทยอยสแกนเก็บในโอกาสเหมาะสมต่อไป กลับมาที่บทความที่ผมตั้งใจจะเขียนถึงดีกว่าครับ วันนี้ผมตั้งใจจะเขียนบทความถึง 2 บทความ อีกบทความจะพยายามเขียนในเร็วๆ นี้ แต่สำหรับบทความนี้ขอเขียนถึงคอลัมน์ "กาแฟดำ" ของคุณสุทธิชัย หยุ่น ที่พูดถึงเรื่อง "ราคาข้าวแกงกับการเมืองเรื่องเงินเฟ้อ"
คงต้องบอกเพื่อนๆ ว่า ในทรรศนะของผมนั้นบ่อยครั้งที่มักมีความรู้สึกว่า รัฐบาลในแต่ละยุคสมัยนั้น มีเรื่องที่ควรทำแต่ไม่ทำ ส่วนเรื่องที่ไม่ควรทำกลับทำ จนบางครั้งรู้สึกหงุดหงิด ที่ผ่านมาเกือบ 4 ปี ผมได้มีโอกาสทำงานร่วมกับภาครัฐหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ส่วนตัวรู้สึกได้เลยว่า อีกนานกว่าคนพิการจะสามารถพึ่งตนเองได้ หรือจะเรียกว่าโงศรีษะขึ้นมาได้คงจะยากพอดู บอกไม่ได้ด้วยซ้ำว่าอีกกี่ปี มีเรื่องราวลึกลับซับซ้อนที่ทำให้คนพิการอาจต้องอยู่ในสภาพนี้ไปอีกนาน และที่สำคัญ คนพิการกำลังอยู่ท่ามกลาง "วัฒนธรรมคนพิการ" ที่สังคมได้ตอกหมุดไว้แล้ว เช่น
- คนพิการไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถทำงานได้เท่าคนปกติ
- ถ้าพนักงานปกติประสบอุบัติเหตุจนพิการทุพพลภาพแล้ว ตามระเบียบบริษัทต้องให้ออกจากงาน
- การให้ความช่วยเหลือกับคนพิการนั้น ก็บริจาคเงินไปเลยดีกว่า
- ถ้ามีลูกพิการ งั้นไม่ต้องไปแจ้งเกิด เราจะเลี้ยงลูกของเราเอง
- พิการแล้วก็ไม่ต้องออกไปไหนเลยนะ อยู่แต่ในบ้านก็พอ
- ต้องการคนพิการเข้าทำงานตามกฏหมายที่บังคับไว้ แล้วจะหาจากที่ไหน แล้วจะมาทำงานที่บริษัทได้หรือไม่ บริษัทต้องยุ่งยากปรับปรุงสถานที่อีกแน่ๆ
- พิการแล้วคงดูแลเราไม่ได้แล้ว เลิกคบกัน หรือหย่าขาดจากกันไปเลยดีกว่า
- เป็นต้น (ถ้าเพื่อนๆ ท่านใดจะเพิ่มเติม ให้ใส่ลงในการแสดงความคิดเห็น ข้างล่าง แล้วผมจะนำมาเพิ่มเติมในส่วนนี้ให้นะครับ)
ผมคิดเอาเองนะครับว่า ณ วินาทีนี้ละ ที่ผมกำลังพิมพ์บทความ รัฐบาลควรเอาสมอง เอาความสามารถ มาแก้ปัญหาเรื่อง "แรงงานคนพิการ" มากกว่าเรื่องกำหนดราคากลางข้าวแกงเสียกว่า ยังไม่นับเรื่องราวอีกหลายประเด็นของคนพิการ ถ้ามีอารมณ์เวลาอ่านคอลัมน์ไหนของกรุงเทพธุรกิจ ก็จะมาพพิมพ์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ
เพื่อนๆ ลองอ่านปัญหาของภาคเอกชนหนึ่ง คือธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศไทย ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านบทความข้างล่างแล้วจะเห็นว่า ภาคเอกชนกำลังประสบปัญหาอย่างมาก และปัญหาดังกล่าวก็มีที่มาที่ไปที่ซับซ้อน อันมาจากการทำงานที่ไม่แก้ไขที่ปัญหาของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่มีความชัดเจนเรื่องฐานข้อมูลของประชากรคนพิการ ดังนั้นไม่ว่าจะจัดการเรื่องใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับคนพิการ จะเจอจุดตายทันที คือ ไม่มีความชัดเจนเรื่องข้อมูลคนพิการ
- คนพิการอยู่ที่ไหนบ้าง ในสมุทรปราการ คนพิการที่พร้อมทำงานมีกี่คน ในพื้นที่อื่นๆ มีจำนวนเท่าไหร่
- คนพิการประเภทใดบ้าง ควรทำงานอะไรที่เหมาะสม
- มีเอกชนกี่รายที่จะทราบถึง "ความพิการ" แล้วสามารถเลือกงานที่เหมาะสมให้ได้
- การทำงานที่หวังที่ประสิทธิภาพ มากกว่าที่กฏหมายบังคับ รัฐสามารถพัฒนาคนพิการได้ถึงหรือไม่
- คนพิการภายหลังที่เคยทำงานในระบบ เมื่อพิการแล้วถูกให้ออกมีกี่ราย และที่พร้อมจะเข้าทำงานมีกี่ราย
- วิธีการเก็บฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำอย่างไร
มีวิธีแก้ไขหรือไม่ จริงๆ แล้ว การจัดการด้านคนพิการนั้น ในความคิดของผมนั้นง่ายมาก เปรียบเทียบกับอีกงานอาสาที่ผมกับผู้ใหญ่หลายๆ ท่านกำลังร่วมกันทำอยู่ และเห็นผลอย่างดี ทำให้กำลังขยายงานไปเรื่อยๆ คือ การบริหารจัดการเรื่องการปลูกข้าว ผมไม่เข้าใจว่าหน่วยงานด้านการเกษตรของรัฐทำอะไรอยู่ ปล่อยให้ชาวนาปลูกข้าวได้ไร่ละ 50 ถังอยู่ได้อย่างไร ในขณะที่เวียดนามปลูกข้าวได้ไร่ละ 300 ถัง
จะเรื่องของคนพิการก็ดี จะเรื่องการเกษตรก็ดี เป็นเรื่องต้นทาง หรือต้นน้ำที่รัฐควรจัดการ แต่เรื่องข้าวกับกับข้าวที่กำลังจะเข้าปากของประชาชนอยู่แล้วนั้นเป็นเรื่องปลายทาง ที่ถ้าลงมือเมื่อไหร่แล้วมีแต่เจ็บตัว สิ่งที่ควรทำทั้งสิ้นไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม หน่วยงานภาครัฐควรจัดการตั้งแต่ต้นทางเสียจะดีที่สุด ควรแก้ปัญหาซะตั้งที่ยังเป็นก้อนหินที่ยังสามารถหยิบ-จับ จัดการได้ง่าย หากปล่อยปัญหาเรื้องรัง ต่อเนื่อง จนกลายเป็นเม็ดทรายแล้ว คราวนี้ต้องใช้อะไรมาจัดการก็มีแต่เสียกับเสียทั้งสิ้นครับ
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น